วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๑ - ๔๒. สิกขาบทวิภังค์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๗๘๒ - ๑๐๗๔. หน้าที่ ๓๑ - ๔๒.

สิกขาบทวิภังค์
[๒๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใดเป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
[๒๖] บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุเพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่าภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
[๒๗] บทว่า สิกขา ได้แก่สิกขา ๓ ประการคือ อธิสีลสิขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญา-*สิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการเหล่านั้น อธิสีลสิกขานี้ ชื่อว่า สิกขา ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
[๒๘] ชื่อว่า สาชีพ อธิบายว่า สิกขาบทใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั้น ชื่อว่า สาชีพ ภิกษุศึกษาในสาชีพนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ถึงพร้อมซึ่งสาชีพ.
[๒๙] คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ทรงอธิบายไว้ว่าภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกษุทั้งหลายการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาเป็นอันบอกคืนก็มี.
ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]

[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การกระทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน เป็นอย่างไร?กล่าวบอกคืนด้วยคำรำพึงว่าไฉนหนอ [๑๔ บท]
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้าดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน
๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำรำพึงว่า ไฉนหนอ [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็เชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวว่าบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้าดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิหาริก ...
๑๑. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๑๔ บท]
๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า.ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาบทไม่เป็นอันบอกคืน.กล่าว

กำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริ [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
๕. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
๖. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
๗. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
๘. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
๙. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
๑๐. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
๑๑. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
๑๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
๑๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
๑๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินยอม ใคร่จะเคลื่อนจากความสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน
๒. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
๓. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
๔. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
๕. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
๖. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
๗. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
๘. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
บอกคืน.

อ้างวัตถุที่รำลึก [๑๗ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา. ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา ...
๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้องชาย ...
๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่หญิงน้องหญิง ...
๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบุตร ...
๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา ...
๗. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงภริยา ...
๘. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ ...
๙. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร ...
๑๐. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน ...
๑๑. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม ...
๑๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนา ...
๑๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน ...
๑๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน ...
๑๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง ...
๑๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ ...
๑๗. ... ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในครั้งก่อน. ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
บอกคืน.

แสดงความห่วงใย [๙ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา-*ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา ไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ...
๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ...
๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

อ้างที่อยู่ที่อาศัย [๑๖ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้าดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...
๑๐. ... บ้านของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยบ้านนั้น ...
๑๑. ... นิคมของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนิคมนั้น ...
๑๒. ... นาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนานั้น ...
๑๓. ... สวนของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยสวนนั้น ...
๑๔. ... เงินของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยเงินนั้น ...
๑๕. ... ทองของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยทองนั้น ...
๑๖. ... ศิลปะของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยศิลปะนั้น ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

อ้างว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า พรหมจรรย์ทำได้ยาก. ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
๒. ... พรหมจรรย์ทำไม่ได้ง่าย ...
๓. ... พรหมจรรย์ประพฤติได้ยาก ...
๔. ... พรหมจรรย์ประพฤติไม่ได้ง่าย ...
๕. ... ข้าพเจ้าไม่อาจ ...
๖. ... ข้าพเจ้าไม่สามารถ ...
๗. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ...
๘. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดียิ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
รวมลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน ๑๖๐ บท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น