วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๔๔ - ๒๕๘. สิกขาบทวิภังค์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๖๒๘๓ - ๖๖๕๕. หน้าที่ ๒๔๔ - ๒๕๘.

สิกขาบทวิภังค์
[๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใดมีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุโดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุเพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้ว ด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสาระธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะว่า อรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ทั้งสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้

ประเทศที่ชื่อว่า บ้าน มีอธิบายว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียวก็ดี มีกระท่อม ๒ หลังก็ดีมีกระท่อม ๓ หลังก็ดี มีกระท่อม ๔ หลังก็ดี มีคนอยู่ก็ดี ไม่มีคนอยู่ก็ดี แม้ที่เขาล้อมไว้ก็ดีแม้ที่เขาไม่ได้ล้อมไว้ก็ดี แม้ที่เขาสร้างดุจเป็นที่โคจรเป็นต้นก็ดี แม้หมู่เกวียนหรือต่างที่อาศัยอยู่เกิน ๔ เดือนก็ดี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บ้าน
ที่ชื่อว่า อุปจารบ้าน กำหนดเอาที่ ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ เสาเขื่อนแห่งบ้านที่ล้อม โยนก้อนดินไปตก หรือกำหนดเอาที่ซึ่งบุรุษขนาดกลาง ผู้ยืนอยู่ ณ อุปจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม โยนก้อนดินไปตก

ที่ชื่อว่า ป่า มีอธิบายว่า สถานที่ที่เว้นบ้านและอุปจารบ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า

ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์ใดอันเจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ได้ละวาง ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิอยู่ว่าเป็นของเรา ยังมีผู้อื่นหวงแหน ทรัพย์นั้นชื่อว่าทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้

บทว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่มีจิตคิดขโมย คือมีจิตคิดลัก.
[๘๖] บทว่า ถือเอา คือ ยึดเอา เอาไป เอาลง ยังอิริยาบถให้กำเริบ ให้เคลื่อนรากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
[๘๗] ที่ชื่อว่า เห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี

ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครองประเทศ ท่านผู้ปกครองมณฑล นายอำเภอ ผู้พิพากษา มหาอำมาตย์ หรือท่านผู้สั่งประหารและจองจำได้ท่านเหล่านี้ ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย

ที่ชื่อว่า โจร มีอธิบายว่า ผู้ใดถือเอาสิ่งของอันเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า๕ มาสกก็ดี ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ผู้นั้นชื่อว่า โจร
บทว่า ประหารเสียบ้าง คือ ประหารด้วยมือหรือด้วยเท้า ด้วยแส้หรือด้วยหวายด้วยไม้ค้อนสั้นหรือด้วยดาบ
บทว่า จองจำไว้บ้าง คือ ผูกล่ามไว้ด้วยเครื่องมัดคือเชือก ด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคาโซ่ตรวน หรือด้วยเขตจำกัดคือเรือน จังหวัด หมู่บ้าน ตำบลบ้าน หรือให้บุรุษควบคุม
บทว่า เนรเทศเสียบ้าง คือ ขับไล่เสียจากหมู่บ้าน ตำบลบ้าน จังหวัด มณฑลหรือประเทศ

คำว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย นี้เป็นคำบริภาษ.
[๘๘] ที่ชื่อว่า เห็นปานนั้น คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี
บทว่า ถือเอา คือ ตู่ วิ่งราว ฉ้อ ยังอิริยาบถให้กำเริบ ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.

[๘๙] คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุรูปก่อน
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ ถือเอาทรัพย์อันเขาไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี แล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทสที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกันนั่นชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้นเพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.


บทภาชนีย์
มาติกา
[๙๐] ทรัพย์อยู่ในดิน ทรัพย์ตั้งอยู่บนดิน
ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง
ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ เรือ และทรัพย์อยู่ในเรือ
ยาน และทรัพย์อยู่ในยาน ทรัพย์ที่ตนนำไป
สวน และทรัพย์อยู่ในสวน ทรัพย์อยู่ในวัด
นา และทรัพย์อยู่ในนา พื้นที่และทรัพย์อยู่ในพื้นที่
ทรัพย์อยู่ในบ้าน ป่า และทรัพย์อยู่ในป่า
น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป
ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต
สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้า สัตว์มีเท้ามาก
ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก
การนัดหมาย การทำนิมิต.

ภุมมัฏฐวิภาค
[๙๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือเถาวัลย์ ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ขุดก็ตาม คุ้ยก็ตาม โกยขึ้นก็ตาม ซึ่งดินร่วนต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำหม้อให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำหม้อให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไป ถูกต้องทรัพย์ควรแก่ค่า ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย กระทำให้ทรัพย์อยู่ในภาชนะของตนก็ตาม ตัดขาดด้วยกำมือก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุมีไถยมีจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้ายก็ดี สังวาลก็ดี สร้อยคอก็ดี เข็มขัดก็ดีผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย จับที่สุดยกขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อ โดยที่สุดแม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใสก็ดี น้ำมันก็ดี น้ำผึ้งก็ดี น้ำอ้อยก็ดี ควรแก่ค่า ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ด้วยประโยคอันเดียว ต้องอาบัติปาราชิก ทำลายเสียก็ดี ทำให้หกล้นก็ดีเผาเสียก็ดี ทำให้บริโภคไม่ได้ก็ดี ในที่นั้นเองต้องอาบัติทุกกฏ.


ถลัฏฐวิภาค
[๙๒] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่บนพื้น ได้แก่ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนพื้น เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


อากาสัฏฐวิภาค
[๙๓] ชื่อว่า ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ทรัพย์ที่ไปในอากาศคือนกยูง นกคับแคนกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพก หรือเงินทองที่ขาดหลุดตกลง
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ลอยอยู่ในอากาศ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดีเดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ หยุดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัยให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


เวหาสัฏฐวิภาค
[๙๔] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ได้ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้ง เช่น ทรัพย์ที่คล้องไว้บนเตียงหรือตั่ง ที่ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเตียง เดือยที่ฝาบันไดแก้ว หรือต้นไม้ โดยที่สุดแม้บนเชิงรองบาตร
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในที่แจ้ง เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก.


อุทกัฏฐวิภาค
[๙๕] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ดำลงก็ดี โผล่ขึ้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เง่าบัว ปลา หรือเต่า ที่เกิดในน้ำนั้น มีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


นาวัฏฐวิภาค
[๙๖] ที่ว่า เรือ ได้แก่พาหนะสำหรับข้ามน้ำ ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในเรือ ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในเรือ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย แก้เครื่องผูก ต้องอาบัติทุกกฏ แก้เครื่องผูกแล้วลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ลอยขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดีขวางน้ำไปก็ดี โดยที่สุด แม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก.


ยานัฏฐวิภาค
[๙๗] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในยานได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ
ปาราชิก.

ภารัฏฐวิภาค
[๙๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่ตนนำไป ได้แก่ภาระบนศีรษะ ภาระที่คอ ภาระที่สะเอว ภาระที่หิ้วไป
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัยลดลงสู่คอ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่คอ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่สะเอว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่สะเอว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัยถือไปด้วยมือ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตวางภาระที่มือลงบนพื้น ต้องอาบัติปาราชิก มีไถยจิตถือเอาจากพื้น ต้องอาบัติปาราชิก.


อารามัฏฐวิภาค
[๙๙] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่สวนไม้ดอก สวนไม้ผล ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในสวน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือ ผลไม้ ซึ่งเกิดในสวนนั้นได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัยให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัยเจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาลแพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


วิหารรัฏฐวิภาค
[๑๐๐] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในวัด ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัด โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในวัด เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาที่วัด ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัยเจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาลแพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


เขตตัฏฐวิภาค
[๑๐๑] บุพพัณณชาติ หรืออปรัณณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา ที่ชื่อว่าทรัพย์อยู่ในนา ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนา โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณณชาติ หรืออปรัณณชาติ ซึ่งเกิดในนานั้นได้ราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัยเจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาลแพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.


วัตถุฏฐวิภาค
[๑๐๒] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วัด ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัยเจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาลแพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือทำกำแพงให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.คา


มัฏฐวิภาค
[๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในบ้าน ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในบ้าน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในบ้าน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


อรัญญัฏฐวิภาค
[๑๐๔] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในป่า ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในป่า เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำไว้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี หญ้าก็ดี ซึ่งเกิดในป่านั้น ได้ราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก.


อุทกวิภาค
[๑๐๕] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือน้ำที่ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือในบ่อ
ภิกษุมีไถยจิตจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตหย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ไหลเข้าไปในภาชนะของตนต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นทำลายคันนาแล้วทำน้ำให้ไหลออกไป ได้ราคา๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคาเกินกว่า ๑มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคา ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทันตโปณวิภาค
[๑๐๖] ที่ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว หรือที่ยังมิได้ตัด
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ชำระฟัน อันมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


วนัปปติวิภาค
[๑๐๗] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม เป็นไม้ที่ใช้สอยได้ ภิกษุมีไถยจิตตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟัน เมื่อการฟันอีกครั้งหนึ่งจะสำเร็จต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อการฟันนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.

หรณกวิภาค
[๑๐๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักนำทรัพย์พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้าก้าวที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักเก็บทรัพย์ที่ตก แล้วทำทรัพย์นั้นให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


อุปนิธิวิภาค
[๑๐๙] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้
ภิกษุรับของฝาก เมื่อเจ้าของกล่าวขอคืนว่า จงคืนทรัพย์ให้ข้าพเจ้า กล่าวปฏิเสธว่า ฉันไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจะไม่ให้แก่เรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาลแพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


สุงกฆาตวิภาค
[๑๑๐] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งไว้ที่ภูเขาขาดบ้างที่ท่าน้ำบ้าง ที่ประตูบ้านบ้าง ด้วยทรงกำหนดว่า จงเก็บภาษีแก่บุคคลผู้ผ่านเข้าไปในสถานที่นั้น
ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี ซึ่งมีราคา ๕มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๑ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติปาราชิก หลบเลี่ยงภาษี ต้องอาบัติทุกกฏ


ปาณวิภาค
[๑๑๑] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอามนุษย์ที่ยังมีลมหายใจ
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ต้องอาบัติปาราชิก.


อปทวิภาค
[๑๑๒] ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์ไม่มีเท้า ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


ทวิปทวิภาค
[๑๑๓] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ คน นก
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ต้องอาบัติปาราชิก.


จตุปทวิภาค
[๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา ปศุสัตว์
ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๓ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๔ ต้องอาบัติปาราชิก.


พหุปทวิภาค
[๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์มีเท้ามากนั้น ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไป แล้วย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ย่างเท้าก้าวหลังที่สุด ต้องอาบัติปาราชิก.


โอจรกวิภาค
[๑๑๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง อธิบายว่า ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.

โอณิรักขวิภาค
[๑๑๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.


สังวิธาวหารวิภาค
[๑๑๘] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.


สังเกตกัมมวิภาค
[๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า ท่านจงลักทรัพย์นั้นตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเย็น ในเวลากลางคืน หรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นได้ ตามคำนัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.


นิมิตตกัมมวิภาค
[๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา จักยักคิ้วหรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักลักทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุลักลักทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.

อาณัตติกประโยค
[๑๒๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่แต่ลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่ง ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่นแต่ลักทรัพย์นั้นมา ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่นจึงลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่าภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งบอกแก่ภิกษุนอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำภิกษุผู้สั่งเดิม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป

ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่าภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อสิ่งนี้มา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง ๆ ภิกษุอื่นต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก รับคำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งเดิมไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่งนั้นไปแล้วกลับมาบอกอีกว่า ผมไม่อาจลักทรัพย์นั้นได้ ภิกษุผู้สั่งนั้นสั่งใหม่ว่าท่านสามารถเมื่อใด จงลักทรัพย์นั้นเมื่อนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป

ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ แต่ไม่พูดให้ได้ยินดีว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ต้องอาบัติปาราชิก ๒ รูป

ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้ลักนั้นตอบว่า ท่านสั่งผมแล้วผมลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้สั่งนั้น ครั้นสั่งภิกษุนั้นแล้ว เกิดความร้อนใจ จึงพูดให้ได้ยินว่า อย่าลักเลย ภิกษุผู้รับสั่งนั้น รับคำว่าดีละ แล้วงดเสียไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป.


อาการแห่งอวหาร
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑

ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๑

ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อย ได้ราคา ๑ มาสกหรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑
อาการ ๖ อย่าง

[๑๒๓] ปาราชิกอาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่างคือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑

ถุลลัจจยาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือมิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ๑

ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ มิใช่ขอยืม ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๔] ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกิน๑ มาสก หรือหย่อน ๕ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑

ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ทรัพย์มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา ๑มาสก หรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ๑ ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑ ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑.

อนาปัตติวาร
[๑๒๕] ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑ ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑ ขอยืม ๑ ทรัพย์อันเปรตหวงแหน ๑ ทรัพย์อันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้องอาบัติ.
ปฐมภาณวาร ในอทินนาทานสิกขาบท จบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น